ระบบการศึกษาทั่วไป
ระบบการศึกษาของสวิตเซอร์แลนด์ แบ่งเป็น 5 ระดับดังนี้
1. ระดับอนุบาล (Pre School Education) เป็นการศึกษาก่อนวัยเรียน โดยทั่วไปเด็กจะเข้าเรียนอนุบาล ตั้งแต่อายุ 3 6 ปี
2. ระดับประถมศึกษา (Primary Education) จัดเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กสวิตทุกคนจะต้องเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวนปีที่เรียนในระดับประถมศึกษาแตกต่างกันไป แล้วแต่ละมณฑลจะจัด ส่วนใหญ่เป็น 6 ปี แต่บางมณฑลจัดเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Secondary Education Level I) ระยะเวลาในการศึกษาระดับนี้ มณฑลส่วนใหญ่จัดไว้ 3 ปี ต่อจากประถมศึกษา แต่บางมณฑลอาจมีระยะเวลาศึกษาเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาไว้กี่ปี แต่ถ้ารวมการศึกษาระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาแล้วต้องมีระยะเวลาทั้งสิ้น 9 ปี เด็กนักเรียนสวิตเซอร์แลนด์ต้องศึกษาให้จบมัธยมศึกษาตอนต้น จึงจะถือว่าจบการศึกษา ภาคบังคับเด็กนักเรียนระดับนี้อายุประมาณ 13 15 ปี
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Sceondary Education Level II) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 โรงเรียนศิลปศาสตร์ (Liberal Arts School) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
- Tenth School year เป็นโรงเรียนที่จัดให้มีชั้นเรียนปีที่ 10 ต่อจากการศึกษาภาคบังคับ (ประถม + มัธยม = 9 ปี) เพื่อให้นักเรียนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเรียนวิชาชีพใด หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา เช่น เรียนช้า หรือนักเรียนที่ต้องการเรียนเพื่อให้มีความรู้แน่นโดยเรียนอีก 1 ปี ก่อนที่จะเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
- Diploma Level School หรือ General School เป็นโรงเรียนที่จัดสอนการศึกษาทั่วๆ ไปเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้แนวทางแก่นักเรียน ในการเลือกแนวทางการศึกษาหรือวิชาชีพ สำหรับเรียนต่อในสาขาวิชาชีพระดับสูงขึ้น
- Cantonal School หรือ Gymnasium หรือ Lycee หรือ College เป็นโรง เรียนที่เตรียมนักเรียนให้สอบ Leaving Certificate (หรือ Certificate de maturite) เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเทคโนโลยี โดยไม่ต้องผ่านการสอบเข้า (Entrance Examination) ระยะเวลาในการเรียน เพื่อสอบรับประกาศนียบัตรดังกล่าวใช้เวลา 4 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนต้น
4.2 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แบ่งเป็น
- Apprenticeship หลักสูตร 2 4 ปี เรียนทั้งทฤษฎีและฝึกงานด้านวิชาชีพ เมื่อจบแล้วจะได้ Federal certificate
- College of Commerce หลักสูตร 3 4 ปี ทางด้านธุรกิจและการบริหารจบแล้วได้ประกาศนียบัตรซึ่งได้รับการรับรองจาก Federal Office of Industry, Arts, Trade and Labour (OFIAMT)
5. ระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education)
5.1 การศึกษาวิชาชีพชั้นสูงได้แก่
- Higher Vocational School สอนวิชาชีพต่างๆ เช่น ครูอนุบาล ธุรกิจการ บริหาร เป็นต้น
- Higher Technical School สอนวิชาชีพทางช่าง เช่น วิศวกรรมศาสตร์
5.2 การศึกษาในมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยี โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระดับคือ
- First degree (ระดับปริญญาตรี) สถานศึกษาบางแห่งเรียกว่า Diploma ระยะเวลาในการศึกษา 6 13
- Semester หรือ 3 6.5 ปี ( 2 semester 1 ปี) ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา และสถานศึกษากำหนด
- Doctorate (ปริญญาเอก) ระยะเวลาในการศึกษา 2 3 ปี ต่อจากปริญญาตรี การเรียนในระดับนี้ส่วนใหญ่เป็นการสัมมนา ค้นคว้าวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ สถานศึกษาบางแห่งอาจ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Licentiate, Diplom (หรือ Certificatie) และ Doctorate
การสมัครสถานศึกษา
ระดับปริญญาตรี คุณสมบัติของผู้สมัคร
- ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสวิส (Leaving Certificate) หรือเทียบเท่า หากไม่มีคุณวุฒิดังกล่าวต้องไปสอบเข้า (Entrance Examination)
- นักเรียนต่างชาติต้องมีผลสอบภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ (ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาเยอรมัน) สำหรับนักเรียนไทยต้องไปเรียน ภาษาฝรั่งเศสหรือภาษา เยอรมัน ที่สวิตเซอร์แลนด์ ก่อนอย่างน้อย 1 ปี
ขั้นตอนการสมัครสถานศึกษา
1. เขียนจดหมายขอสมัครเข้าเรียนไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการสมัคร โดยจะสมัครกี่แห่งก็ได้ พร้อมทั้งส่งเอกสารประกอบการสมัครดังนี้
- Transcript ระดับ ม.4 ม.6 และขอเทียบระดับการศึกษาชั้นมัธยมปลายของนักเรียนว่าทาง สถานศึกษาจะยอมรับให้เทียบเท่ากับ Leaving Certificate ของสวิตเซอร์แลนด์หรือไม่
- ผลการสอบภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาเยอรมัน
2. หากสถานศึกษายอมรับเทียบคุณวุฒิ ม.6 ให้เท่ากับ Leaving Certificate ประกอบ กับผลการศึกษา ม.6 และผลภาษาอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ สถานศึกษาก็จะตอบรับให้นักเรียน เข้าศึกษาได้โดยไม่ต้องผ่านการสอบเข้า
3. หากสถานศึกษาไม่ยอมรับการเทียบคุณวุฒิดังกล่าว นักเรียนจะต้องติดต่อขอสมัครสอบเข้า โดยขอรายละเอียดไปยังมหาวิทยาลัยโดยตรง ภายในวันที่ 31 มกราคม หรือภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักเรียนไปสอบเข้าที่ Fribourg ซึ่งจะจัดสอบ Entrance รวมปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม / เมษายน และกันยายน / ตุลาคม
4. กรณีที่นักเรียนไม่แน่ใจว่าจะสอบ Entrance ผ่านหรือไม่ก็สามารถสมัครเรียนหลักสูตร เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย (นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้) ซึ่งใช้เวลาศึกษา 1 ปี (กลางเดือนตุลาคม กลางเดือนกรกฎาคม)การสมัครเข้าหลักสูตรนี้ ต้องยื่นสมัคร สถานศึกษา ตามปกติก่อน แล้วสถานศึกษาจะตอบรับให้เข้าศึกษา โดยมีเงื่อนไขว่านักเรียนจะต้องผ่านหลักสูตรการเรียนเตรียมสอบเข้าของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นนักเรียน จึงจะมีสิทธิ์ขอสมัคร เรียนหลักสูตรเตรียมสอบเข้า โดยยื่นขอสมัครก่อนวันที่ 31 กรกฎาคมของปีที่จะเข้าศึกษา
ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
1. เขียนจดหมายสมัครโดยตรงไปยังมหาวิทยาลัย โดยส่งเอกสารประกอบการสมัคร คือ Transcript ปริญญาตรี ผลการสอนภาษาฝรั่งเศสหรือเยอรมัน
2. สถานศึกษาจะพิจารณาจากหลักฐานดังกล่าวโดยไม่ต้องสอบเข้า
หมายเหตุ : นักเรียนไทยมีสิทธิ์สมัครระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ได้ โดยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้จำกัดเรื่องอายุของนักเรียน แต่อาจจะมีปัญหาในด้านภาษา เนื่องจากโรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ใช้ภาษาฝรั่งเศสหรือเยอรมันหรืออิตาเลียนในการเรียนการสอน ส่วนการสมัครสถานศึกษานั้นต้องสมัครโดยตรงไปยังสถานศึกษา
วิชาการโรงแรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
วิชาการโรงแรมเป็นสาขาวิชาที่นักเรียนไทยส่วนใหญ่นิยมศึกษามากที่สุด กล่าวกันว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นต้นกำเนิดของวิชาการโรงแรม หลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันส่วนใหญ่ให้เรียนทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ โดยสถานศึกษาจะจัดให้นักเรียนฝึกงานตามโรงแรมต่างๆ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการโรงแรมของสวิตเซอร์แลนด์ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานโรงแรมทุกด้าน เช่น งานครัว งานเสิร์ฟอาหาร งานดูแลห้องพัก งาน Front Office และมาตรฐานที่ดีของการบริการด้านต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาออกไปเป็นผู้บริหารโรงแรมที่ดีสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง และให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้
สถานศึกษาที่เปิดสอนวิชาการโรงแรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะไม่มีเปิดสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเทคโนโลยีของรัฐ แต่จะเปิดสอนในสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐ และ/หรือ รับรองโดยสมาคมวิชาชีพต่างๆ ระดับการศึกษาที่เปิดสอนมีตั้งแต่ระดับ Certificate (หลักสูตร 1 ปี หรือต่ำกว่า 1 ปี) Diploma (2-3 ปี) จนถึงระดับปริญญาตรี (4 ปี) และระดับปริญญาโท (2 ปี) ภาษาที่ใช้ในการสอนนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถาบัน บางแห่งใช้ภาษาอังกฤษในการสอน บางแห่งใช้ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาเยอรมัน
มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีในเขตพูดภาษาฝรั่งเศส
1. Fribourg University ใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันในการสอน
ที่ตั้ง The Rectors Office, CH-1700 Fribourg
ประกอบด้วย 4 คณะ คือ 1) Theological Faculty (Catholic Theology) 2) Faculty of Laws, Economics and Social Science 3) Faculty of Philosophy 4) Faculty of Mathematics and Natural Science
2. Geneva University เป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักเรียนต่างชาติมากที่สุด
ที่ตั้ง Place de I Universite, CH-1211 Geneva 4
ประกอบด้วย 10 คณะ คือ 1) Faculty of Mathematics 2) Medical Faculty 3) Faculty of French Language and Civilization 4)Faculty of Economics and Social Science 5) School of French Language and Civilization 6) Faculty of Law 7) Autonomous Faculty of Protestant Theology 8) Faculty of Psychology and Education Theory 9) School of Architecture 10) Interpreters School
3. Lausanne University
ที่ตั้ง Rectorat de l Universite, Place de la Cathedrale 4 Case Postale 611, CH-1000 Lausanne 17
ประกอบด้วย 9 คณะ คือ 1) Medical Faculty 2) Theological faculty (Pretestant) 3) Faculty of Laws 4) Faculty of Arts 5) Faculty of Natural Science 6) Faculty of Social and Political Science 7) School of Advanced Commercial Studies 8) School of Pharmacy 9) School of Modern French
4. Neuchatel University
ที่ตั้ง Avenue du 1er - Mars, CH-2000 Neuchatel
ประกอบด้วย 4 คณะ คือ 1) Faculty of Theology (Protestant) 2) Faculty of Laws and Economics 3) Faculty of Arts 4) Faculty of Science
5. The Swiss Federal Institute of Technology Lausanne (EPLF)
ที่ตั้ง Secretarial Generale, 33, Avenud de Cour, CH-1007 Lausanne
ประกอบด้วย 10 Department คือ 1) Civil Engineering 2) Agriculture Engineering and Surveying 3) Mechanical Engineering 4) Electrical Engineering 5) Physics 6) Chemistry 7) Mathematics 8) Materials 9) Arichitecture 10) Microtechnics
|